ถุงเท้าเดินป่า…”เท้า” หนึ่งอวัยวะสำคัญของ “นักเดินป่า” กิจกรรมเดินป่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ใช้งานเท้าหนักมากกว่าปกติ ด้วยเส้นทางลักษณะพิเศษที่อาจทำให้เกิดการใช้งานกล้ามเนื้อที่มากขึ้น เชื่อว่าหลายคนคงมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับเท้าและขาระหว่างเดินป่ามาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เล็บม่วง เท้าพอง เท้าเปียก ร้อนเท้า เมื่อยเท้า เมื่อยน่อง
แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วเราสามารถลดปัญหาหรือความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์แบบนั้นได้ จากการเลือกถุงเท้าและรองเท้าสำหรับเดินป่า แต่ในบทความนี้จะพูดถึงในส่วนของถุงเท้าเดินป่าเท่านั้น…และนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมนักเดินป่าจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อถุงเท้าเดินป่า??
อ่านบทความอื่นๆน่ารู้ก่อนเริ่มต้นอ่านเรื่องถุงเท้าได้ที่นี่
ถุงเท้าเดินป่ามีกี่ระดับ??
ถุงเท้าสามารถแบ่งตามระดับความยาวได้หลายระดับ ได้แก่
- ระดับต่ำกว่าข้อเท้า
- ระดับข้อเท้า (Low Cut)
- ระดับครึ่งแข้ง (Mid Length)
- ระดับน่อง (Crew length)
- ระดับเข่า (Knee Length)
โดยให้การเลือกความยาวของถุงเท้าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ประเภทของเท้า และกิจกรรม
นอกจากนั้นยังมีถุงเท้าแบบแยกนิ้วเพื่อลดการเสียดสีระหว่างนิ้วด้วย
ข้อควรพิจารณาของถุงเท้าเดินป่า
- Cushioning : ความนุ่มสบาย ลักษณะคล้ายขนขนาดเล็กที่บุอยู่ด้านใน ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับแรงกระแทก เช่น การวิ่ง การเดินป่าระยะไกล เป็นต้น วัสดุส่วนนี้มีส่วนช่วยกันการป้องกันการเสียดสีจากรองเท้าได้ ซึ่งก็สามารถแบ่งได้เป็น
- No Cushioning & Ultralight Cushion – เหมาะสำหรับใช้ทำเป็นถุงเท้าวิ่ง วิ่งเทรล เน้นการรองรับแรงกระแทกและจะแห้งไวกว่า Cushioning ประเภทอื่น
- Light Cushioning – เหมาะสำหรับกิจกรรมเดินป่าทั้ง Hiking & Trekking ระยะสั้น ทั้งฤดูหนาวและร้อนเพิ่มการซัพพอตมากขึ้น และมีความทนทานเพิ่มมากขึ้น
- Medium Cushioning – เหมาะสำหรับการเดินป่าทั้ง Hiking & Trekking ระยะปานกลาง-ยาว ในฤดูหนาว
- Heavy Cushioning – เหมาะสำหรับเดินป่าประเภท Trekking ระยะยาว ในฤดูหนาวหรือใส่นอน ให้ความอบอุ่นมากที่สุด
- Fabrics Matter : เส้นใย สำหรับเส้นใยต่างๆที่ใช้ในการทำถุงเท้าเดินป่า ก็มีมากมายหลายตัว ซึ่งแต่ละก็จะมีคุณสมบัติด้านการระบายอากาศ ความทนทาน ความนุ่มสบาย ความยืดหยุ่นแตกต่างกัน
- Cotton – หรือเส้นใยจากพืช ให้ความนุ่มสบาย สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียดสีหรือเท้าพองได้ ราคาไม่แพงและมักถูกใช้ในถุงเท้าทั่วไปที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น ใยฝ้าย ใยไผ่ เป็นต้น
- Synthetics – หรือใยสังเคราะห์ ซึ่งมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Polyester, Nylon, Coolmax, Spandex/Lycra, Elastic เป็นต้น ให้ในความยืดหยุ่น แห้งไว ระบายอากาศ การดูดซับ หรือแม้กระทั่งการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งอาจจะนำเส้นใยเหล่านี้ผสมผสานกับนวัฒกรรมอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่างๆ ซึ่งเส้นใยประเภทนี้ก็จะมีความทนทานมากกว่าพวก Cotton
- Wool – หรือเส้นใยจากสัตว์ ช่วยในเรื่องความนุ่มสบาย การยับยั้งกลิ่น เพิ่มความอบอุ่น ตัวอย่างเช่น ขนแกะ ขนกระต่าย เป็นต้น
ถุงเท้าเดินป่าทั่วไปมักมีส่วนผสมจากเส้นใยที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีการออกแบบบริเวณต่างๆของถุงเท้าเพื่อตอบโจทย์กิจกรรมนั้นๆ ทางที่ดีในการเลือกซื้อถุงเท้าเดินป่าควรจะพิจารณาองค์ประกอบของถุงเท้า การใช้งาน ประเภทของกิจกรรม
- FIT ถุงเท้าต้องไม่คับ รัดแน่น หรือหลวมเกินไป
-
Support – ถุงเท้ามีส่วนช่วยในการประคับประคอง ซัพพอตข้อเท้า ตาตุ่ม หัวเข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และนิ้วเท้า และกรณีที่เรามีโอกาสใช้งานเท้าหนักกว่าปกติอาจจะแนะนำให้ใช้เทปช่วยประคองเท้าหรือนิ้วเท้าเพิ่มด้วย
- Sizing – ถุงเท้าที่ดีจะต้องสวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี มีพื้นที่สำหรับการเคลื่อนไหวหรือขยับนิ้วเท้า ซึ่งถุงเท้าคับเกินไปจะจำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วเท้า และทำให้เลือดไหลเวียนได้ลำบากมากขึ้น
-
Tips!!! นอกจากนั้นสำหรับถุงเท้าบางยี่ห้ออย่าง Dexshell เรายังสามารถดูระดับการกันหนาวที่แถบอุณหภูมิหรือ Thermal Guideline เพื่อให้สามารถเลือกได้ตรงตามต้องการเรามากที่สุด
Thermal Guideline คืออะไร???
Thermal Guideline คือ แถบอุณหภูมิโดยประมาณที่สามารถป้องกันความหนาวเย็นได้ มีทั้งสิ้น 5 ระดับ ตัวเลข 1 หมายถึงน้อย ไล่ลำดับไปถึง 5 หมายถึงมาก
- สายปกติ ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ควรเลือกระดับ 1 – 2 ก็เพียงพอ ลักษณะผ้าจะบางเบา และค่อนข้างมีความยืดหยุ่นกว่าระดับ 3 – 5
- สายลุย ซึ่งเหมาะกับกิจกรรม Extreme ลุยน้ำ ลุยหิมะ กันลม กันหนาวมากๆให้เลือกระดับ 3 – 5
อ่านต่อ บทความเกี่ยวกับ >>> ถุงเท้ากันน้ำ กันหนาวและถุงเท้ารุ่นอื่นๆของยี่ห้อ Dexshell
ตัวอย่างถุงเท้าเดินป่าที่ได้รับการแนะนำจากนักเดินป่าทั่วโลก
- ดีที่สุดด้านคุณภาพ นุ่มสบายและความทนทาน >>> Darn Tough Micro Crew Light Cushion
- ดีที่สุดด้านความทนทานสำหรับสายBackpacking ระยะยาว >>> Farm To Feet Damascus Lightweight Technical Quarter
- ดีที่สุดด้านการยับยั้งแบคทีเรีย กลิ่น ในสภาวะอากาศร้อน >>> Feettures Elite Ultra Light Quarter
- ถุงเท้าวูลที่สวมใส่สบาย ระบายอากาศที่ดีที่สุด >>>Smartwool PhD Outdoor Light Crew
- ถุงเท้าราคาเป็นมิตรสามารถสวมใส่ได้ทุกวัน >>> Balega Hidden Comfort Socks
- ถุงเท้าที่เน้นการรองรับแรกกระแทกมี Cushioning เยอะ และระบายอากาศได้ดี >>> Thorlos XCCU Experia
- ถุงเท้าที่บางแต่ทนทานและให้ความอบอุ่น >>> Darn Tough Vertex No Show Tab Ultra-Light
- ถุงเท้าน้ำหนักเบาที่ช่วยยับยั้งกลิ่น>>> Swiftwick Pursuit Hike Two Ultralight
- ถุงเท้าน้ำหนักเบาสำหรับนักเดินป่า >>> Injinji Run Lightweight No Show
- ถุงเท้าที่ใช้สำหรับเพิ่มจำนวนชั้นเพื่อช่วยในการป้องกันการเกิดเท้าพอง >>> WrightSock Coolmesh ll Lo Quarter
ถุงเท้าเดินป่าที่แนะนำ…
- Safari Outdoor Trekking Sock ถุงเท้าเดินป่าที่ออกแบบโดยทีมงาน The Puffin House เป็นถุงเท้าที่เราภูมิใจนำเสนอสำหรับการใช้เดินป่าในเขตร้อนชื้นเช่นเมืองไทยโดยเฉพาะ เป็นถุงเท้าชนิดแยกนิ้วลดการเสียดสี เพิ่มความหนาที่ส้น และมีการรัดที่ข้อเท้ากำลังดีเพื่อลดปัญหาเท้าบวม พร้อมทั้งระบบระบายอากาศเพื่อป้องกันเท้ามีกลิ่น สนใจดูสินค้าได้ที่นี่
-
Point6 37.5 Hiking Light Mini-Crew – ถุงเท้าวูลที่fully-cushioned เหมาะสำหรับกิจกรรมเดินป่าี่เดินเยอะๆและมีที่กันถุงเท้าเลื่อนลง
-
Icebreaker Hike+ Lite Crew – ถุงเท้าวูลน้ำหนักเบาที่ช่วยเรื่องความอบอุ่น
-
Woolly Merino Wool Ankle Air – ถุงเท้าวูลที่สวมใส่สบายสามารถใช้งานได้ทุกวัน
-
REI Co-op Lightweight Merino Wool Hiking Quarter – ถุงเท้าที่ช่วยเรื่องความอบอุ่นเหมาะสำหรับฤดูฝนและฤดูหนาว
การดูแลรักษาถุงเท้า
- การซักและการตากแห้ง เราควรคำนึงถึงวัสดุของถุงเท้าเป็นสำคัญ ถุงเท้าที่มีส่วนผสมของขนสัตว์หรือใยธรรมชาติก็จะมีการดูแลที่ยากกว่า และระยะการใช้งานสั้นกว่าที่เป็นใยสังเคราะห์ ก่อนนำกลับมาใช้งานซึ่งต้องมั่นใจว่าถุงเท้านั่นแห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราและปัญหาอื่นๆตามมา สำหรับถุงเท้าที่มีส่วนผสมของขนสัตว์เยอะจะความร้อนมากและระยะเวลามากกว่าในการทำให้แห้ง แนะนำให้กลับด้านก่อนแล้วค่อยซัก ซึ่งอาจจะใช้เครื่องอบร่วมด้วย
อ้างอิง Best Hiking Socks
อ่านต่อ บทความการเตรียมตัวไปเดินป่า/น้ำตก